ค่าย apple ก็มีพอร์ตเฉพาะของตัวเองเป็น lightning มือถือและแท็ปเบล็ตอย่าง ipad ก็ใช้พอร์ตชนิดนี้ แต่ก็ดันมีรุ่นหนึ่งอย่าง ipad pro ที่เลือกใช้พอร์ต usb-c ออกมา และไม่มีช่องเสียบหูฟัง การจะใช้หูฟังกับ ipad รุ่น usb-c ก็เลยจำเป็นต้องมีตัวแปลง usb-c to headphone jack 3.5mm ตัวนี้ เราก็เลยมี apple usb-c to 3.5mm ให้ใช้
google ทำอแด๊ปเตอร์ usb-c to 3.5mm มาใช้กับมือถือ nexus ราคาเส้นละ 20 ดอลล่าร์ พอ apple ทำบ้าง แต่ตั้งขาย 10ดอลล่าร์ ก็เป็นประเด็นให้สาวกค่าย google บ่นว่า google ทำของแพง และยิ่งมีคนเทียบคุณภาพเสียงแล้ว พบกว่า apple ทำเสียงออกมาดีกว่า google ก็เลยยิ่งเป็นประเด็น และในที่สุด google ก็ลดราคาอแด๊ปเตอร์ของตัวเองลงมาอยู่ในระดับราคาเดียวกับ apple
ด้วยข้อมูลที่ฝรั่งหลายเว็บบอกไว้ว่าคุณภาพเสียงของ apple ทำออกมาดี ผมก็เลยสนใจสั่งซื้อมาลองกับโทรศัพท์ของตัวเองด้วย โดยโทรศัพท์ที่ใช้ก็คือ Redmi Note7 ที่ใช้พอร์ต usb-c และเมื่อได้ทดลองเสียบอแด๊ปเตอร์ของ apple เข้าใช้งานกับมือถือ android พบว่าทำงานได้ดี ก็เลยจัดการทดสอบจริงจัง และ อยากจะทดลองใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คด้วย เลยหาตัวแปลงพอร์ต usb-c to usb-a มาใช้ร่วมมกัน
คุณภาพเสียงของ apple usb-c to 3.5mm ตัวนี้ถือว่าดีมาก มันให้ความโปร่งฟังสบาย เสียงใส และมีเสียงย่านเบสที่ลงลึก ติดตามการเล่นโน้ตเบสได้ง่าย และฟังเสียงกลองแยกแยะเสียงกระเดื่องได้ชัดเจน เทียบเสียงที่ฟังตรงกับโทรศัพท์ กับเสียงที่ผ่านอแด๊ปเตอร์เส้นนี้ เสียงตรงจากโทรศัพท์จะให้เสียงโดยรวมเหมือนนักดนตรียืนทับซ้อนกัน ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นจะอยู่ชิดติดกัน แต่เสียงที่ผ่านอแด๊ปเตอร์เส้นนี้จะแยกแยะช่องไฟได้ห่างและชัดเจนกว่า การทับซ้อนกันของแต่ละชิ้นดนตรีไม่มีเลย แบบนี้ถือว่าเสียงจาก apple ทำได้ดีน่าชื่นชมมาก ยิ่งเมื่อดูจากราคาขายในไทย ราคาเพียง 390 บาท ก็ทำให้รู้สึกดียิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราใช้เงินแค่นี้ก็อัพเกรดเสียงโทรศัพท์มือถือให้ดีมากๆได้แล้ว
ทดลองเอาอแด๊ปเตอร์ apple usb-c เส้นนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊ค ก็ทำงานได้ดี โน้ตบุ๊คระบบปฏิบัติการวินโดส์ 10 สามารถใช้งานได้เลย ผมมีโน้ตบุ๊ค asus ใช้ cpu ryzen ก็ทำงานได้ แต่ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการ windows 7 ไม่ได้ กับเครื่องที่ใช้ได้เสียบตรงเข้ากับพอร์ต usb-c ก็ทำงานได้เลย ถือว่าเป็น external soundcard ก็ได้ คุณภาพเสียงก็ดีขึ้นกว่าเสียงจากฮาร์ดแวร์ติดเครื่องมา น้ำเสียงสดใส ช่องไฟแต่ละชิ้นดนตรี่ก็จัดวางห่างกันไม่ทับซ้อน เป็นการอัพเกรดคุณภาพที่ราคาแค่หลักร้อยบาท ฟังแล้วอยากซื้อมาติดกับคอมฯทุกตัวในบ้าน
มีฝรั่งช่างสงสัย ดูสเป็คแล้วเอาไปเทียบกับแบตเตอรี่ของซันโยรุ่น eneloop และพบว่ามันน่าจะเป็นแบตตัวเดียวกัน เพราะสเป็คเหมือนกันมากนั่นเอง โดยของซันโยจะระบุสเป็คไว้ที่ความจุ typ 2000 ma min 1900ma ใช้รหัสผลิตภัณฑ์ว่า HR-3UTG 1.2V ส่วน apple ใช้รหัส HR6 มีความจุ 1900ma
การใช้งานระบบปฏิบัติการ windows บนเครื่อง macbook air สามารถติดตั้งในฮาร์ดดิสก์ตรงๆโดยผ่านการแบ่งพาติชั่นได้แล้ว การจะเปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่าง osx และ windows จะต้องบู๊ทเครื่องใหม่ แม้ว่า macbook air จะบู๊ทเครื่องได้เร็วเพียงใดมันก็ยังไม่ใช่คำตอบของการสลับใช้งานอยู่ดี ซึ่งก็เป็นที่มาของโปรแกรม parallel ที่ทำหน้าที่จำลองการทำงานของ windows ให้สามารถเรียกใช้ได้ใน osx แบบไม่ต้องบู๊ทเครื่องใหม่ สามารถสลับไปมาได้ตามใจเลย
ในด้านประสิทธิภาพ
ผมเปรียบเทียบความเร็วในการประมวลผลด้วยโปรแกรม super pi โดยเลือกให้ทำการหาค่าทศนิยมของ pi ระดับ 1ล้านตำแหน่ง โปรแกรม super pi นี้เกิดขึ้นในปี คศ1995 และกลายเป็นโปรแกรมพื้นฐานของการวัดความสามารถในการคำนวณของ cpu มาตลอดสิบกว่าปี ผมบู๊ทเครื่องเข้า windows โดยตรง แล้วทดสอบ super pi 1M ผลคือใช้เวลาคำนวณ 35.475 วินาที ส่วนการทดสอบเรียกผ่าน parallel โปรแกรม super pi ใช้เวลาคำนวณ 37.75 วินาที ก็คือช้ากว่ากัน 2 วินาที คิดเป็น 5.7%
สรุปว่า การใช้งาน windows ผ่านโปรแกรม parallel ให้ประสิทธิภาพที่สูงพอๆกันกับการบู๊ทเข้า windows โดยตรง ซึ่งความเร็วที่ตกลงเล็กน้อยไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ความแตกต่างกัน 5% ไม่มีผลต่อการทำงานทั่วไปเลย ไม่แปลกใจที่ทาง apple ไม่คิดจะพัฒนาโปรแกรมแนวเดียวกับ parallel ขึ้นมาใช้เอง ยอมปล่อยให้ต้นตำรับ parallel ทำต่อไปเพราะ apple เคยให้สัมภาษณ์ว่า parallel ทำได้ดีอยู่แล้ว apple ไม่เห็นความจำเป็นต้องไปทำแข่ง
สิ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของ apple มีเสน่ห์ในการใช้งานอย่างหนึ่งก็คือ มันเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถลง os ได้หลายชนิดโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการ hack
ตั้งแต่ apple หันใช้ซีพียู intel ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถลงระบบปฏิบัติการ windows ในเครื่อง mac ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำมาได้ตั้งแต่ปี คศ 2006 แล้ว และที่ผ่านมาผมก็ลง windwos XP ในโน้ตบุ๊ค mac ตัวเก่าเพื่อใช้งานโปรแกรมบางอย่างที่มีเฉพาะในฝั่ง windows เช่น โปรแกรม microsoft word หรือ การเขียนโปรแกรมด้วย visual studio พอได้ macbook air 11 นิ้วมา ก็ซนอยากลองลงวินโดส์ดูบ้าง ก็เลยลองซะเลย
ก่อนจะลง ต้องทบทวนสิ่งที่ต้องมีสำหรับการลงวินโดส์บนเครื่อง mac ดังนี้
ต้องใช้โปรแกรม bootcamp แบ่งพาติชั่นของฮาร์ดดิสก์ก่อน โปรแกรมนี้เรียกใช้ใน osx
ต้องมีไดรเวอร์ของเครื่องเพื่อใช้ตอนติดตั้งวินโดส์ ไดรเวอร์อยู่ในแผ่น DVD ที่ให้มาตอนซื้อเครื่อง
ต้องมีแผ่นติดตั้ง windows การติดตั้งจะทำผ่านไดร์ฟ dvd
แต่ macbook air 11 นิ้ว ไม่มีไดร์ฟ dvd ติดมาด้วย เลยไปใช้วิธีคิดแบบการลงโปรแกรมบน netbook ทั่วไป
คือจะต้องทำแผ่นติดตั้ง windows ให้อยู่ใน usb แล้วก็บู๊ทเครื่องด้วย usb เข้าสู่การติดตั้ง แต่ macbook air ทำไม่ได้ ไม่ทราบเหตุผล เพราะผมลองเอา usb ที่มี os เป็น ubuntu มาเสียบ macbook air เพื่อบู๊ทเครื่อง ก็เงียบ ไม่เกิดอะไรขึ้น ซึ่ง usb ตัวนี้ผมใช้เป็นตัวแก้ปัญหาต่างๆมากับหลายๆเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น netbook หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งถ้ามันสามารถ boot ด้วย usb ได้ มันก็จะเข้าสู่ ubuntu ในนั้นได้ แต่่ macbook air ไม่ได้
เป็นข้อสรุปคร่าวๆได้ว่า แม้ว่า macbook air จะสามารถเสียบ usb dvd drive แล้วบู๊ทจากแผ่นได้ แต่มันก็ไม่สามารถบู๊ทด้วย usb flash ได้ และแม้ว่า usb recovery ที่แถมมาจะบู๊ทเครื่อง macbook air ได้ แต่มันก็ไม่รับ flash bootable ตัวอื่นได้ ผมไม่รู้ว่ามีการล๊อคค่าอย่างไรไว้ แต่ก็สรุปว่า ต้องติดตั้งวินโดส์ด้วย usb dvd drive เท่านั้น
ขั้นตอนการลง windwos ใน macbook air จะมีดังนี้
1 เตรียมแผ่น windows ซึ่งผมเลือก windows seven
2 เตรียม usb dvd drive
3 เข้า bootcamp ใน osx
4 ขั้นตอนหนึ่งใน bootcamp จะมีให้ดาวน์โหลด driver ต่างๆเป็นไฟล์เก็บไว้ ก็ให้โหลดตอนนี้เลย จะก็อปปี้ลง usb flash drive หรือ burn เป็นแผ่นก็ได้ ขั้นตอนนี้สำคัญมาก
5 ขั้นตอนสุดท้ายใน bootcamp แบ่งพาร์ติชั่นให้เรียบร้อย ผมเลือกขนาดไว้ 20G
6 ใส่แผ่น windowsใน usb dvd drive และ restart เครื่องใหม่ กดปุ่ม option ตอนเปิดเครื่องแล้วก็เลือกให้บู๊ทจากแผ่น
7 เข้าสู่หน้าตาติดตั้ง windows
8 มีขั้นตอนหนึ่งให้เลือกว่าจะติดตั้งที่ไดร์ฟไหน ให้เลือกไดร์ฟที่ชื่อ bootcamp
9 ต้องกด format ไดร์ฟที่ต้องการติดตั้งด้วย เพราะถ้าไม่ format จะมีปัญหาติดตั้งไม่ผ่าน
10 ติดตั้งจบ boot เครื่องเข้าวินโดส์ ใช้งานได้แล้ว แต่ยังขาด driver ต่างๆ
11 ในวินโดส์ ใส่แผ่น driver ที่โหลดเอาไว้เข้าไป ถ้าไม่มี autorun ก็คลิก setup.exe เอง ถ้าเป็นโน้ตบุ๊คตัวอื่นๆเช่น macbook หรือ macbook pro หรือแม้แต่ imac ที่แถมแผ่น dvd มาให้ driver ต่างๆจะอยู่ในแผ่นที่แถม ส่วน macbook air รุ่น 11 นิ้ว ไม่แถมแผ่น dvd แต่แถมเป็น usb flash drive มาเพื่อเอาไว้ลง osx และ โปรแกรม i-life ซึ่ง ผมคิดว่าน่าจะมี drive อยู่ใน usb ตัวนี้ด้วย แต่ก็ไม่มี จึงให้โหลดเก็บไว้ก่อนตอนเรียกใช้ bootcamp หลังกจากติดตั้ง driver เรียบร้อย restart เครื่องอีกครั้ง
การใช้งาน windows ในเครื่องmac มีความเร็วปกติ ใช้ทำงานต่างๆได้ไม่แตกต่างไปจากเครื่องยี่ห้ออื่นๆ ในอดีตระบบแบตเตอรี่อาจจะมีชั่วโมงการใช้งานน้อยลง เพราะระบบประหยัดพลังงานยังไม่ค่อยสมบูรณ์ แต่ใน macbook air กับ windows7 คล้ายๆว่าจะมีโหมดประหยัดพลังงานที่ดีขึ้นแล้ว ทำให้ชั่วโมงการใช้งานยาวนานใกล้เคียงฝั่ง osx ไม่เหมือน macbook pro ตัวเก่าของผม ระบบประหยัดพลังงานยังไม่มี หรืออาจจะเป็นเพราะตอนนั้นเดิมผมลองกับ windows xp ไม่ใช่ windows7
สรุปว่า macbook air ลง windows7 ได้ ใช้งานได้เต็มความสามารถ