การสแกนฟิล์มด้วยเลนส์มาโครและกล่องไฟ


การถ่ายภาพด้วยฟิล์มในยุคดิจิทัลยังเป็นสิ่งที่มีลมหายใจอยู่  เมื่อก่อนในวันที่เป็นยุคทองของฟิล์ม เราถ่ายภาพ แล้วส่งล้างอัด แล้วก็ได้ภาพมาดูเป็นเล่ม  มันสะดวกมากสำหรับฟิล์มสี  ส่วนฟิล์มขาวดำก็ต้องล้างฟิล์มแล้วสั่งอัดภาพ  แต่การอัดภาพด้วยร้านถ่ายภาพสีทั่วไป ภาพสีขาวดำก็จะออกมาดูไม่น่ามอง  ภาพขาวดำที่ีสวยก็ต้องเป็นการอัดภาพลงบนกระดาษขาวดำแท้ๆเท่านั้น

แต่บางคนก็ไม่สามารถอัดภาพได้เอง  ต้องอาศัยวิธีสแกนภาพแล้วดูในคอมพิวเตอร์  หรือ ดูในมือถือแทนโดยไม่ต้องอัดบนกระดาษจริง  ยิ่งยุคนี้เป็นยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ค อยากมีภาพเป็นไฟล์เพื่อส่ง เพื่อแชร์ให้เพื่อนดูกันทั้งนั้น  การเอาภาพจากฟิล์มขาวดำก็ต้องใช้วิธี สแกน  ร้านถ่ายภาพทั่วไปก็มีบริการรับสแกน  แต่ค่าใช้จ่ายก็แพงขึ้นกว่าเดิม  ไหนๆเราก็มีกล้องดิจิทัลกันอยู่แล้ว ก็ลองใช้อุปกรณ์ของเราสแกนฟิล์มเลยดีกว่า ซึ่งกล้องดิจิทัลที่มีเลนส์มาโครหรือเลนส์ถ่ายใกล้ๆได้จะสามารถนำมาใช้สแกนฟิล์มได้  วิธีนี้ ประหยัด ไม่เสียเงินซักบาท  แต่อาจเสียเงินซื้อเลนส์มาโครแทน

scan-bw-IMG_0205

ให้จัดการเซ็ทอัพอุปกรณ์ตามนี้  ใช้กล่องพลาสติกขนาดใหญ่ หรือ เล็กก็ได้ แต่ในภาพของผมจะใช้กล่องใหญ่เพราะตั้งใจจะใช้ถ่ายฟิล์มทั้งม้วนเลย  โดยการเอากล่องขาวขุ่นมาวางพื้น แล้วเอาฟิล์มบางบนกล่อง  หาของทับฟิล์มให้เรียบแนบไปกับกล่อง  กล่องขาวขุ่นนี้ผมซื้อจากร้านขายอุปกรณ์แต่งบ้าน มันถูกขายเป็นถังขยะสีขาว ผมเห็นแล้วก็ถูกใจเลยสอยมาใช้  ส่วนแสงสว่างที่ส่องในกล่อง ผมใช้แฟลชเก่าๆตัวนึงที่ทำงานได้ แล้วต่อชุดส่งสัญญาณแฟลชไร้สาย หรือ ไวเลสทริกเกอร์  โดยตัวส่งสัญญาณจะเสียบอยู่กับกล้องถ่ายภาพ  ตัวรับสัญญาณจะต่อกับแฟลช  เมื่อเรากดถ่ายภาพ แสงแฟลชก็จะทำงาน ส่งผลให้กล่องเรืองแสง

IMG_0198

ดูใกล้ๆก็จะเป็นแบบนี้  เราถ่ายภาพฟิล์มขาวดำด้วยกล้องดิจิทัลโดยตรงได้เลย  ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพแบบที่ตาเห็น คือ เป็นภาพดูไม่ค่อยรูัเรื่อง สีสันก็เป็นแบบตรงกันข้าม   หากเราจะสแกนภาพจากฟิล์มแค่บางภาพ เราก็ถอดฟิล์มจากซองมาวางบนกล่อง แล้วใช้เลนส์มาโครถ่ายภาพซะเลย

DSCF7049

ถ้าเราจะสแกนฟิล์มขาวดำทั้งม้วน โดยให้เรียงตัวสวยๆเหมือนภาพ คอนแท็คปริ๊นท์ หรือcontact print ก็ใช้ใช้วิธี วางซองฟิล์มทั้งซองบนกล่องขาวขุ่นนี้เลย นี่คือเหตุผลที่ผมเลือกใช้กล่องขนาดใหญ่ เพราะต้องการถ่ายภาพฟิล์มทั้งม้วน ซึ่งใช้พื้นที่ใหญ่พอสมควร กล่องใหญ่ก็จะได้เปรียบคือทำงานคอนแท็คปริ๊นท์ได้นั่นเอง

DSCF7210

ภาพฟิล์มทั้งม้วนที่ถ่ายด้วยกล่องไฟจะเป็นแบบนี้  เมื่อถ่ายภาพได้แล้ว ก็เอาภาพ jpg ที่ได้มา ไปปรับค่าต่อในโฟโต้ช็อป โดยการสั่ง invert เพื่อกลับภาพจากดำเป็นขาว และ ขาวเป็นดำ  และทำการปรับระดับสีดำ และสีขาวให้สมจริง เราก็จะได้ภาพสีปกติออกมา

 

DSCF7210-contactsheet 20jul2012

แค่นี้เราก็ได้ภาพคอนแท็คปริ๊นท์ที่ดูคลาสิคมากออกมา  เราสามารถปริ๊นท์ภาพนี้เก็บไว้เป็นภาพโชว์ได้เลย  ขนาดภาพของคอนแท็คปริ๊นท์ในอดีตจะใหญ่เท่าจริง คือฟิล์มเรามาใหญ่แค่ไหน คอนแท็คปริ๊นท์แท้ๆก็จะใหญ่เท่านั้น

คราวนี้เราจะมาสแกนบางภาพที่เราต้องการบ้าง  บางภาพที่เราต้องการนี้ก็อาจจะเป็นภาพที่เราตั้้งใจจะโพสท์หรือตั้งใจจะเอาไปอัดขยายให้ใหญ่  เราก็จะทำการถ่ายฟิล์มที่ต้องการแค่ภาพเดียว ซึ่งการถ่ายฟิล์มแค่ภาพเดียวเราจะต้องใช้เลนส์มาโคร เพื่อให้สามารถถ่ายภาพฟิล์ม 1 ภาพให้ใหญ่เกือบเต็มเฟรมของกล้องดิจิทัล

IMG_0284

ภาพที่ถ่ายได้จากเลนส์มาโครจะทำให้เราได้ชิ้นฟิล์มค่อนข้างใหญ่  จริงๆเราสามารถใช้เลนส์มาโครระดับ 1:1 เพื่อถ่ายชิ้นฟิล์มได้ใหญ่กว่านี้  แต่ผมชอบภาพที่เห็นรูหนามเตยของฟิล์ม เพราะทำให้ภาพดูน่ามอง ดูเท่ห์กว่า  ก็เลยถ่ายแบบให้เห็นขอบฟิล์มเยอะหน่อย   จากนั้นก็เอาภาพมากลับสีด้วยคำสั่ง invert ในโปรแกรมโฟโต้ช็อป ซึ่งถ้าใครถนัดโปรแกรมอื่น หรือ ถนัดใช้ app ในมือถือ ก็แล้วแต่สะดวก  เมื่อกลับสีแล้วก็จัดการปรับค่าดำ ค่าขาว ในภาพให้ดูสมจริง ดูเป็นภาพขาวดำปกติ

IMG_0284bw

ออกมาได้แบบนี้เลย  ภาพลูกชาย วันแรกที่เกิด  ฟิล์ม lucky กล้องไลก้า minilux ล้างฟิล์มเอง สแกนเอง ภูมิใจเอง

 

One thought on “การสแกนฟิล์มด้วยเลนส์มาโครและกล่องไฟ

  1. Pingback: รีวิว leica minilux | Pockethifi's Blog

Leave a comment